1. เป็นธุรกิจตามกฎหมายไทย และมีคนไทยเป็นผู้ถือหุ้นไม่ต่ำกว่าร้อยละ 51 โดยจะต้องคงคุณสมบัตินี้ไว้ตลอดระยะเวลาโครงการ 
2. เป็น SME ตามนิยาม สสว. คือ รายได้ไม่เกิน 500 ล้านบาท สำหรับภาคการผลิต และรายได้ไม่เกิน 300 ล้านบาท สำหรับภาคบริการและการค้า
3. มีความมุ่งมั่นในการพัฒนาศักยภาพธุรกิจด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม

อยากเข้าร่วมโครงการ ต้องทำอย่างไร? 


ขั้นตอนที่ 1
แจ้งความต้องการมาที่ itap@nstda.or.th


ขั้นตอนที่ 2
หารือกับที่ปรึกษาเทคโนโลยีเพื่อกำหนดความต้องการที่ชัดเจนและวินิจฉัยปัญหาเบื้องต้นโดยผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง


ขั้นตอนที่ 3
ร่วมพัฒนาข้อเสนอโครงการตามความต้องการของบริษัทโดยผู้เชี่ยวชาญ


ขั้นตอนที่ 4
จัดส่งเอกสารประกอบการพิจารณาและรอผลอนุมัติเริ่มต้นโครงการ


ขั้นตอนที่ 5
ติดตามความก้าวหน้าโครงการร่วมกับที่ปรึกษาเทคโนโลยี


ขั้นตอนที่ 6
ประเมินผลความสำเร็จของโครงการร่วมกัน


ขั้นตอนที่ 7
สิ้นสุดโครงการ บริษัทจัดเตรียมเอกสารเพื่อขอรับการสนับสนุนค่าใช้จ่าย

ผู้ประกอบการสามารถขอรับการสนับสนุนจาก ITAP ได้อย่างต่อเนื่อง โดยจำกัด 1 โครงการต่อบริษัทต่อปี

การสนับสนุนค่าใช้จ่ายของ ITAP เป็นลักษณะเบิกจ่ายย้อนหลังเมื่อสิ้นสุดโครงการ (reimbursement) ดังนั้น ผู้ประกอบการต้องสำรองจ่ายทั้งหมดก่อน แล้วนำใบเสร็จที่เกิดขึ้นภายในโครงการมาขอเบิกจ่ายตามจริง

ปี 2564 เป็นต้นมา ITAP ใช้หลักเกณฑ์การพิจารณาสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการ (บางส่วน) แก่ผู้ประกอบการ SME ตามนิยามของ สสว.

สำหรับผู้ประกอบการที่ไม่อยู่ในเกณฑ์ SME ตามนิยาม สสว. ยังสามารถขอใช้บริการกลไก ITAP ในการสรรหาผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง การขอรับคำปรึกษาเบื้องต้น การติดตามความคืบหน้าและประเมินผลโครงการได้ (โดยไม่สามารถรับการสนับสนุนด้านงบประมาณ)